ชื่อภาษาไทย ส้มซ่า
ชื่ออื่น ส้ม
ชื่อภาษาอังกฤษ Bouquetier, Sour orange, Bitter orange, Seville orange,Bigarade
ชื่อวิทยาศาสตร์ Citrus aurantium L. cv. Group Bouquetier
ชื่อพ้อง Citrus bigaradia Risso & Poiteau, C. amara Link, C. aurantium L. var. amara (Link) Engler [1, 2]
วงศ์ Rutaceae
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์ ไม้ยืนต้น สูง 3-10 เมตร ทรงพุ่มกลม มีกิ่งก้านมาก กิ่งอ่อนเป็นเหลี่ยม กิ่งมีหนามแหลมสั้น กิ่งแก่ อาจอวบยาวถึง 8 เซนติเมตร ใบเดี่ยว เรียงสลับ มีจุดต่อมน้ำมันมาก มีกลิ่นหอมเมื่อขยี้ ก้านใบยาว 2-3 เซนติเมตร ครึ่งตอน บนแผ่เป็นปีกแคบ ๆ ถึงกว้าง รูปคล้ายสามเหลี่ยมแกมไข่กว้าง ขนาดกว้างถึง 2.5 เซนติเมตร แผ่นใบรูปไข่กว้างถึงรูปรี ขนาดกว้าง 4-7 เซนติเมตร ยาว 7-12 เซนติเมตร โคนใบสอบหรือมน ปลายมนถึงปลายทู่ ขอบใบเกือบเรียบถึงจักเล็กน้อย ดอกเดี่ยวหรือเป็นกลุ่มดอกออกที่ซอกใบ กลีบสีขาว มี 2-3 ดอก มีกลิ่นหอมแรง ปกติเป็นดอกสมบูรณ์เพศ มีดอกเพศผู้น้อย 5-12 % กลีบเลี้ยงรูปคล้ายถ้วย ยาว 0.4-0.5 เซนติเมตร มี 3-5 หยัก รูปไข่กว้างคล้ายสามเหลี่ยม เกลี้ยงหรือมีขน กลีบดอก มี 4-5 กลีบ รูปขอบขนาน ขนาดกว้าง 0.4 เซนติเมตร ยาว 1.5 เซนติเมตร เกสรเพศผู้ มี 20-25 อัน แยก 4-5 กลุ่ม ก้านเกสร ยาว 6-10 เซนติเมตร อับเรณู รูปขอบขนาน สีเหลือง เกสรเพศเมีย ก้านเกสรอวบและยอดเกสรนูนกลม รังไข่ ไม่มีขน ผลแบบส้ม รูปกลม ขนาดส้นผ่าศูนย์กลาง 5-8 เซนติเมตร มี 8-12 ห้อง ตรงกลางกลวง เปลือกหนา ผิวเรียบถึงเป็นตุ่มขรุขระ สีส้มเหลืองมีกลิ่นแรง เนื้อในเป็นกรด มีรสขม เล็กน้อย เมล็ดมีจำนวนมาก [1, 2]
นิเวศวิทยา แหล่งกำเนิดอาจเป็นทางตะวันออกเฉียงเหนือของอินเดีย และพื้นที่ที่ติดกับพม่าและจีนแล้วแพร่กระจายไปทางตะวันออกเฉียงเหนือยังญี่ปุ่น และทางตะวันตกผ่านอินเดียไปยังตะวันออกกลาง แล้วต่อไปยังยุโรป มีการกระจายอย่างรวดเร็วในเขต เมดิเตอร์เรเนียนหลายพันปีมาแล้ว พบปลูกแพร่หลายในสเปน เรียก Seville orange ปัจจุบันมีการปลูกทั่วไปทั้งในเขตร้อน และกึ่งร้อน แต่พบน้อยในเขตเอเชียตะวัน ออกเฉียงใต้ ส้มซ่าชอบขึ้นในที่มีภูมิอากาศอบอุ่น แต่ทนต่ออากาศร้อนได้ ดินมีความชื้นพอ ไม่ทนต่อสภาพอากาศเย็น เกิดโรคได้ง่าย ถ้าสภาพภูมิอากาศเหมาะสม สามารถปลูกได้ในดินเกือบทุกชนิด ที่ไม่ใช่เป็นดินดาน มีความชื้น และมีปริมาณดินเหนียว ปูน หรือ ซิลิกา มากพอ [1, 2]
สรรพคุณ เปลือกผล รสปร่าหอมใช้ทำยา หอมแก้ลมวิงเวียนหน้ามืดตาลาย แก้ท้องอืดท้องเฟ้อ น้ำในลูก รสเปรี้ยวอมหวาน กัดฟอก เสมหะ แก้ไอ ฟอกโลหิต ใบ รักษาโรคผิวหนัง [3]
ข้อมูลการวิจัยของน้ำมันส้มซ่า
องค์ประกอบทางเคมี ผิวส้มซ่าเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 1.71 (สนใจรายละเอียด GC Chromatogram ติดต่อที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ)
องค์ประกอบทางเคมี ใบส้มซ่าเมื่อนำมาสกัดน้ำมันหอมระเหยโดยการต้มกลั่น (hydrodistillation) ได้น้ำมันหอมระเหยร้อยละ 0.45 (สนใจรายละเอียด GC Chromatogram ติดต่อที่ สถาบันวิจัยวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งประเทศไทย ฝ่ายเภสัชและผลิตภัณฑ์ธรรมชาติ)
ฤทธิ์ทางเภสัชวิทยา
ความเป็นพิษ
การใช้ประโยชน์จากน้ำมันส้มซ่า
รูปแบบของผลิตภัณฑ์
ราคาน้ำมันส้มซ่า
เอกสารอ้างอิง 1. Oyen, L.P.A. & Jansen, P.C.M., 1992. Citrus aurantium L. cv. Group Bouquetier. In: Oyen, L.P.A. and Xuan Dung (Editors): Plant Resources of South-East Asia No 19. Essential-oil plants. Backhuys Publishers, Leiden, the Netherlands. pp. 78-83 2. Verheij, E.W.M. and Coronel, R.E. (Editors), 1992. Citrus aurantium L.. Minor edible fruits and nuts. Plant Resources of South-East Asia No 2. Edible fruits and nuts. Prosea Foundation, Bogor, Indonesia. pp. 325-6. 3. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ. ไม้ผลพื้นบ้าน. หน้า 156.
http://www.tistr.or.th/essentialoils/plant_%E0%B8%AA%E0%B9%89%E0%B8%A1%E0%B8%8B%E0%B9%88%E0%B8%B2.htm
----------------------------------------------------------------------
ส้มซ่า
รายละเอียดไม้โบราณน่าอนุรักษ์ มีประโยชน์ทั้งทางอาหารและสมุนไพร คนเมื่อก่อนเค้าไม่กินมะนาว อาหารที่มีรสเปรี้ยวจะใช้ ส้มซ่า น้ำมะขามเปียก มะเฟือง ตะลิงปลิง เป็นต้น
เป็นไม้พุ่มขนาดกลาง ใบขนาดกลาง ค่อนข้างหนา มีหูใบเล็กตรงโคนใบคล้ายส้มจุก ผลโตกว่าผลมะกรูดเล็กน้อย ผิวหยาบขรุขระ ค่อนข้างหนา
การปลูก ใช้เมล็ด หรือตอนกิ่ง
สรรพคุณทางยา ผิวลูก รสปร่าหอม ใช้ทำยาหอมแก้ลมวิงเวียน หน้ามืดตาลาย และแก้ท้องอืดท้องเฟ้อ น้ำในลูก รสเปรี้ยวอมหวาน กัดฟอกเสมหะ แก้ไอ ฟอกโลหิต ใบ รักษาโรคผิวหนัง
คติความเชื่อ เชื่อว่าเป็นต้นไม้ตามทิศที่ควรปลูกไว้ทิศเหนือ (อุดร) ร่วมกับส้มป่อยและมะเดื่อ แต่ยังไม่มีหลักฐานยืนยันแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่า ปลูกเพื่อให้ลูกหลานมีชื่อเสียงดี
|